Tel. +66 5394 3161   |   TH  ENG

งานบริการสาธารณูปโภคและซ่อมบำรุง

หน่วยโทรศัพท์


หน่วยโทรศัพท์ งานบริการสาธารณูปโภคและซ่อมบำรุง เป็นส่วนหนึ่งซึ่งมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีภาระหน้าที่ให้การบริการระบบโทรศัพท์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทั้ง ๓ พื้นที่ คือ พื้นที่ส่วนเชิงดอย พื้นที่ส่วนสวนดอก(คณะเทคนิคการแพทย์และคณะพยาบาล) และพื้นที่ส่วนแม่เหียะ โดยในปัจจุบันนี้ มีการขอใช้เลขหมายโทรศัพท์เพิ่มมากขึ้น พร้อมกับการรองรับเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทางมหาวิทยาลัยฯ จึงได้จัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ.๒๕๕๘ ใช้ในการจัดซื้อเครื่องมือ-อุปกรณ์ และ ปรับปรุงระบบโทรศัพท์ หน่วยโทรศัพท์จึงได้รวบรวมผลสัมฤทธิ์ของการให้บริการระบบโทรศัพท์ตามภารกิจประจำปี งบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๘

ขอบข่ายงานหน่วยโทรศัพท์

หน่วยโทรศัพท์มีหน้าที่ให้บริการและพัฒนาระบบงานโทรศัพท์ให้สอดคล้องกับความต้องการของคณะสถาบัน สำนักงาน ศูนย์วิจัยฯ องค์กรในกำกับหน่วยงานที่เกี่ยวพันกับมหาวิทยาลัยฯ อาคารที่พักอาศัย ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ยกเว้นคณะแพทย์ศาสตร์) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน

  1. ฝั่งเชิงดอย 19 ตู้ชุมสาย จำนวน 4,112 เลขหมาย
  2. ฝั่งสวนดอก 1 ตู้ชุมสาย จำนวน 336 เลขหมาย
  3. ไร่ฝึกแม่เหียะ 2 ตู้ชุมสาย จำนวน 528 เลขหมาย

หน้าที่รับผิดชอบ

แบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ

  1. งานระบบตู้ชุมสาย
  2. งานระบบข่ายสาย
    • งานข่ายสายตอนนอก
    • งานข่ายสายตอนใน
  3. งานเอกสาร
  4. งานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ ควบคุมระบบแสง สี เสียง หอประชุม มหาวิทยาลัยฯ

งานระบบตู้ชุมสาย

ระบบโทรศัพท์ของมหาวิทยาลัยปัจจุบัน ล่าสุดได้ปรับปรุงระบบโทรศัพท์ส่วนกลาง ให้เป็นตู้สาขา MX-ONE ระบบTelephony Server(TSE) เวอร์ชั่น4.1 sp4 หรือที่เรียกว่า IP-PABX โดยใช้ตู้ชุมสายยี่ห้อ Aastra ของบริษัท Flexcom ซึ่งรองรับการเชื่อมต่อแบบ IP ทั้งรูปแบบ H.323 และ SIP Protocal (ระบบ gate wayช่องทางอินเตอร์เนต)

และอีกส่วนหนึ่ง ใช้เป็นระบบโทรศัพท์ระบบตู้สาขาอัตโนมัติ SPC ( STORED PROGRAM CONTROL ) แบบ MD – 110 ผลิตโดยบริษัทอิริคสันฯ แห่งประเทศสวีเดน และ แบบมีขนาดตั้งแต่ 100 เลขหมาย ถึง 26,000 ระบบชุมสายของมหาวิทยาลัย ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ทั้งแบบ ANALOG LINE และ DIGITAL LINE อุปกรณ์สวิทซ์และอุปกรณ์อื่น ๆ ใช้เทคนิคทาง DIGITAL จึงทำให้มีความคล่องตัวในการใช้งานสูง คุณลักษณะการทำงานของระบบเป็นแบบ แยกส่วน (DECENTRALIZED CONTROL) โดยแต่ละส่วนจะทำงานเป็นอิสระซึ่งเปรียบเสมือนเป็นชุมสายเล็ก ๆ ชุมสายหนึ่ง และสามารถที่จะนำแต่ละส่วนไปติดตั้งตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งห่างไกลกันได้ (REMOTE SWTCHING) โดยจะทำการเชื่อมต่อแต่ละส่วนด้วยระบบของ PULSE CODE MODULATION (PCM)

ระบบโทรศัพท์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งออกเป็นชุมสายย่อย จำนวน 11 ชุมสาย ดังนี้

  • ชุมสายโรงงานช่าง ขนาด 864 เลขหมาย จำนวน 6 ตู้
  • ชุมสายคณะเกษตรศาสตร์ ขนาด 512 เลขหมาย จำนวน 2 ตู้
  • ชุมสายคณะมนุษย์ศาสตร์ ขนาด 496 เลขหมาย จำนวน 2 ตู้
  • ชุมสายหอพักนักศึกษาหญิง 3 ขนาด 488 เลขหมาย จำนวน 2 ตู้
  • ชุมสายคณะวิศวกรรมศาสตร์ ขนาด 488 เลขหมาย จำนวน 2 ตู้
  • ชุมสายสถาบันวิจัยวิทยาฯ ขนาด 528 เลขหมาย จำนวน 2 ตู้
  • ชุมสายคณะเภสัชศาสตร์ ขนาด 256 เลขหมาย จำนวน 1 ตู้
  • ชุมสายแม่เหียะ ขนาด 528 เลขหมาย จำนวน 2 ตู้
  • ชุมสายคณะเศรษฐศาสตร์ ขนาด 256 เลขหมาย จำนวน 1 ตู้
  • ชุมสายเทคนิคการแพทย์ ขนาด 336 เลขหมาย จำนวน 1 ตู้
  • ชุมสายวิชาการนานาชาติ ขนาด 264 เลขหมาย จำนวน 1 ตู้

- วงจรเลขหมายทั้งหมด จำนวน 4,976 เลขหมาย
- วงจรเลขหมายที่ใช้แล้ว จำนวน 2,803 เลขหมาย
- วงจรเลขหมายที่ชำรุด จำนวน 1,467 เลขหมาย
- วงจรเลขหมายคงเหลือ จำนวน 706 เลขหมาย

รูปภาพประกอบ งานระบบโทรศัพท์

ชุมสายใหม่ระบบ IP PABX TSE. (อาคาร โรงงานช่าง)

ระบบBilling 2 ชุด พร้อม printer (อาคาร โรงงานช่าง)

 

โครงสร้างหน่วยโทรศัพท์